เครื่องหมายกาชาด
1. กากบาทแดงบนพื้นสีขาว (Red Cross)
เป็นสัญลักษณ์กาชาดที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ได้แก่ สภากาชาดประเทศต่างๆ โดยใน พ.ศ. 2406 ได้มีการประชุมนานาชาติที่นครเจนีวา ซึ่งที่ประชุมได้รับรองให้ใช้กาชาดบนพื้นขาวเป็นเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัด และต่อมาใน พ.ศ.2407 ได้มีการประชุมผู้แทนระหว่างประเทศที่จัดขึ้น ณ นครเจนีวา ซึ่งมีการรับรองอนุสัญญาเจนีวาฉบับแรก และมีการรับรองกาชาดบนพื้นขาวอย่างเป็นทางการ
2. เสี้ยววงเดือนแดงพื้นขาว (Red Crescent)
เป็นสัญลักษณ์ของกาชาดในกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเรียกว่า สภาเสี้ยววงเดือนแดงประเทศต่างๆ มีการใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2419 ในสงครามระหว่างรัสเซียและตุรกี ในคาบสมุทรบอลข่าน จักรวรรดิออตโตมานตกลงใจใช้เครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงบนพื้นขาวแทนเครื่องหมายกาชาด ต่อมาใน พ.ศ. 2472 เครื่องหมายนี้ได้รับการยอมรับที่ประชุมทางการฑูตและถูกนำมาเขียนไว้ในอนุสัญญาด้วย
3. คริสตัลแดงบนพื้นขาว (Red Crystal)
เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองให้เป็นสัญลักษณ์ใหม่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้สัญลักษณ์และยุติปัญหาการใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ นอกเหนือไปจากสัญลักษณ์กาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง

– เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ของหน่วยงานกาชาด
– บุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพ
– หน่วยบริการทางการแพทย์ บุคลากรด้านศาสนาและองค์กรมนุษย์ธรรมอื่นๆ อาจสามารถใช้เครื่องหมายกาชาดได้ แต่ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
– ขนาดของเครื่องหมายจะมีขนาดใหญ่ เห็นเด่นชัด
– ต้องเป็นเครื่องหมายกาชาดเท่านั้น ไม่ต้องมีชื่อองค์กรหรือตัวอักษรอื่นใด

– จะต้องมีเครื่องหมายและชื่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง ปรากฏอยู่ด้วยกัน
– ไม่สามารถใช้เครื่องหมายกากบาทอย่างเดียวที่ปลอกแขนต้องใช้ตราสัญลักษณ์สภากาชาดไทย
– ใช้เพื่อบ่งชี้ว่าบุคคลหรือสิ่งของต่างๆ เป็นของหน่วยงานองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง
– เครื่องหมายจะต้องมีขนาดเล็ก
- การลอกเลียน ใช้เครื่องหมายที่มีสีหรือรูปแบบที่สร้างความสับสน
- การใช้ที่ไม่เหมาะสม ใช้ในลักษณะที่เป็นไปตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การใช้โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้เพื่อจุดมุ่งหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานขององค์กรกาชาด
- การใช้เพื่อเป็นกลลวงคู่ต่อสู้ ใช้ในการสู้รบ โดยมีเจตนาให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิดและก่อให้เกิดการเสียชีวิต หรือทำให้มีผู้บาดเจ็บร้ายแรงจะถือเป็นอาชญากรสงคราม
หน้าที่
เพื่อให้มีความเข้าใจในการใช้เครื่องหมายกาชาดอย่างถูกต้อง รัฐบาลและสภากาชาดประจำชาติมีหน้าที่และบทบาท ดังนี้
– รับรองและปรับปรุงกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมายกาชาด
– ตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องหมายกาชาดให้เป็นไปตามกฎหมาย
– เผยแพร่กฎหมายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พรบ. กาชาด พ.ศ. 2499
– มาตรา 9 ผู้ใดใช้เครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาดโดยไม่มีสิทธิตามอนุสัญญา
หรือตามพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– มาตรา 10 ผู้ใดใช้เครื่องหมายหรือถ้อยคำใดๆ เลียนแบบเครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาด
หรือคล้ายคลึงเครื่องหมายหรือนาม เช่นว่านั้น จนอนุมานได้ว่าทำเพื่อหลอกลวงประชาชน
มีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– มาตรา 11 ผู้ใดกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9 หรือ มาตรา 10 ด้วยความมุ่งหมาย
ทางการเงินหรือทางการพาณิชย์ใดๆ ประทับเครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาดลงบนสินค้าเพื่อขาย
เป็นต้นว่า ฉลากหรือ เครื่องหมายการค้า มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ